วันที่ ๗-๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ นายศานิต อ่อนเปี่ยม ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ ปปส.ภ.๕ พร้อมด้วย นายกานต์ ไทยาภิรมย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ปัญหาพืชเสพติด โดยมีนาย ชลัยสิน โพธิเจริญ รองเลขาธิการ ป.ป.ส.เป็นประธานการประชุมและมีผู้แทนกองสำนักใน ป.ป.ส. เข้าร่วมจำนวน ๓๐ ท่าน มีภารกิจสำคัญดังนี้
- วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เข้าติดตามและแลกเปลี่ยนการดำเนินงานการพัฒนางานวิจัยพืชกัญชง (Hemp) ณ สถานีวิจัยโครงการหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ปัญหาพืชเสพติดครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่ มีประเด็นที่สำคัญจากประธานที่ประชุมดังนี้
(๑) ขอให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาพืชเสพติดและยาเสพติด ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลกหรือ UNGASS ๒๐๑๖
(๒) ขอให้ฝ่ายเลขาฯมีการทบทวนกลไกคณะอนุกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพืชเสพติดให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
(๓) การแก้ไขปัญหาฝิ่นให้เน้นการทำงานเรื่องคน การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝิ่นในพื้นที่เพื่อการป้องกันระยะยาว (๔) ประเด็น Hemp ขอให้ สยศ.จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงบประมาณจัดชุดตรวจโดยดำเนินการร่วมกับ สวพ.และ เห็นควรมีการประชุมบูรณาการควบคุมและกำกับดูแลการปลูกเฮมพ์ (กัญชง) เป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
(๕) ประเด็นกัญชา ประธานเน้นย้ำ ว่ากัญชายังคงยาเสพติดประเภทที่ ๕ ภารกิจหลักของ ป.ป.ส.ยังเป็นการบังคับใช้กฎหมาย แต่แนวโน้มจะมีการใช้ประโยชน์ทางเลือกด้านสาธารณสุขมากขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดย ป.ป.ส.เกี่ยวข้องกับ ๒ คณะทำงาน คือ คณะทำงานเพื่อการปลูกและปรับปรุงสายพันธ์กัญชา และคณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมการศึกษาวิจัยฯทางการแพทย์
(๖) ประเด็นเรื่องพืชกระท่อม ติดตามความก้าวหน้าผลการศึกษาวิจัยการสำรวจและการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่นำร่อง ต.น้ำพุ ต.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมพืชกระท่อม
(๗) การพิจารณาร่าง การปรับเปลี่ยนนโยบายพืชเสพติด ที่ประชุมเน้นย้ำให้มีการทำ action plan ในการดำเนินการต่องานวิจัยพืชที่สำคัญ เช่น กัญชง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในระยะเวลาที่ชัดเจนฃ
(๘) การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการพืชเสพติด ปี ๒๕๖๑ ควรประชุมช่วงเดือนกันยายน ๒๕๖๑ ทั้งนี้ก่อนการประชุมควรมีการจัดทำ workshop เพื่อจัดทำข้อเสนอเพื่อพิจารณาในการประชุม
อัมพวัน จันทร์ทวี และชลนิชา จันทร์แป้น รายงาน